การเงินการลงทุน

การทำความเข้าใจและทำนายแนวโน้มเงินเฟ้อด้วยกราฟปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2

การทำความเข้าใจและทำนายแนวโน้มเงินเฟ้อด้วยกราฟปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2

ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 คืออะไร?

ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 เป็นมาตรวัดที่กว้างของเงินที่หมุนเวียนภายในเศรษฐกิจ รวมถึงเงินสดที่มีอยู่จริง เงินฝากในบัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์ และเงินฝากประจำขนาดเล็ก ซึ่งต่างจาก M1 ที่รวมเพียงเงินสดและเงินฝากในบัญชีกระแสรายวัน M2 ให้ภาพรวมที่ครอบคลุมมากขึ้นของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องในเศรษฐกิจ มุมมองที่กว้างนี้ทำให้ M2 เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการทำความเข้าใจและทำนายแนวโน้มเงินเฟ้อ

ทำไมปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 ถึงสำคัญ?

ภาพรวมที่ครอบคลุมของเศรษฐกิจ ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 รวมสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องหลายประเภท ซึ่งให้ภาพรวมที่สมบูรณ์มากขึ้นของเงินที่มีอยู่สำหรับการใช้จ่ายและการออม ทำให้เป็นเครื่องมือที่มีค่าสำหรับการวิเคราะห์สุขภาพเศรษฐกิจและแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

ตัวชี้วัดเงินเฟ้อ การเติบโตอย่างรวดเร็วของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 มักเป็นสัญญาณของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่อาจนำไปสู่เงินเฟ้อหากเกินกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ ข้อมูลประวัติศาสตร์แสดงให้เห็นว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ การเติบโตของ M2 บางครั้งเกินกว่า 10% ซึ่งบ่งบอกถึงแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่สำคัญ

ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนกับเงินเฟ้อ ความสัมพันธ์ระหว่างการเติบโตของ M2 กับเงินเฟ้อไม่ได้ตรงไปตรงมาหรือเกิดขึ้นทันที ปัจจัยเช่นความเร็วในการหมุนเวียนของเงิน (ความเร็วที่เงินหมุนเวียนในเศรษฐกิจ) และศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้ใช้สามารถชดเชยผลกระทบของการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบได้

บริบททางประวัติศาสตร์สำหรับแนวโน้มปัจจุบัน การวิเคราะห์กราฟปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 ช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์สามารถเปรียบเทียบอัตราการเติบโตล่าสุดกับรูปแบบในอดีต ช่วยให้สามารถระบุได้ว่าแนวโน้มปัจจุบันเป็นเรื่องปกติหรือยั่งยืนหรือไม่ บริบททางประวัติศาสตร์นี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำนายอนาคตของเงินเฟ้ออย่างมีข้อมูล

คุณค่าทางการทำนาย แม้ว่ากราฟปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 จะไม่ใช่ตัวทำนายที่สมบูรณ์แบบ แต่ก็ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเกี่ยวกับการขยายตัวของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเงินเฟ้อ การทำความเข้าใจแนวโน้มเหล่านี้ช่วยให้ผู้กำหนดนโยบายและนักเศรษฐศาสตร์ตัดสินใจได้ดีขึ้นในการจัดการกับแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ

วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2

เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 อย่างมีประสิทธิภาพ ทำตามขั้นตอนดังนี้

รวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้ รับข้อมูลปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 จากธนาคารกลางหรือเว็บไซต์การเงินที่น่าเชื่อถือ

ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ ใช้เครื่องมือเช่น Excel เพื่อสร้างกราฟและวิเคราะห์แนวโน้มในปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 การวิเคราะห์นี้ช่วยให้คุณเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงในปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบอาจส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างไร

เปรียบเทียบข้อมูลในอดีตและปัจจุบัน ตรวจสอบอัตราการเติบโตของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 ในช่วงเวลาต่าง ๆ การเปรียบเทียบข้อมูลในอดีตและปัจจุบันช่วยให้คุณสามารถระบุรูปแบบและประเมินว่าอัตราการเติบโตล่าสุดบ่งบอกถึงแนวโน้มเงินเฟ้อที่เป็นไปได้หรือไม่ การเปรียบเทียบนี้มีความสำคัญในการทำความเข้าใจสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันและการทำนายอย่างมีข้อมูล

การเข้าใจรายละเอียดของปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบ M2 และความสัมพันธ์กับเงินเฟ้อสามารถช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์และผู้กำหนดนโยบายมีเครื่องมือที่จำเป็นในการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการเฝ้าระวังแนวโน้มของ M2 อย่างใกล้ชิด พวกเขาสามารถคาดการณ์แรงกดดันด้านเงินเฟ้อและดำเนินมาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

Posted by น้าหนวดไอที in การเงินการลงทุน, นานาสาระ
GPF PODCAST เป็นข้าราชการ อยากจับเงินล้านในยามเกษียณ ไม่ใช่เรื่องยาก

GPF PODCAST เป็นข้าราชการ อยากจับเงินล้านในยามเกษียณ ไม่ใช่เรื่องยาก

เป็นข้าราชการ อยากจับเงินล้านในยามเกษียณ ไม่ใช่เรื่องยาก

สำหรับบทความนี้ เราจะพามาแนะนำช่อง Youtube ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้าราชการครูโดยตรง และเป็นหน่วยลงทุนที่แข็งแกร่งของข้าราชการไทยมาอย่างช้านาน แล้วท่านจะพบว่าเรื่องการลงทุนสำหรับข้าราชการครู ไม่ใช่เรื่องไกลตัวครับ

สิ่งหนึ่งที่น่าตกใจ เมื่อผมได้เข้าไปรับชมรับฟังคลิปและ Podcast ของทางกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือที่เรียกสั้นๆว่า “กบข.” เมื่อเทียบสัดส่วนจากอัตรากำลังของข้าราชการไทย สำหรับช่องนี้ถือว่าอัตราในการรับชมที่น้อยมาก อาจเป็นเพราะมุมมองต่อเรื่องการลงทุนและข้าราชการนั้น หลายๆคนรู้สึกว่า เป็นเรื่องที่ไกลตัวเกินไป และ ได้สอบถามหลายๆท่าน ก็ไม่รู้สึกว่า กบข. เป็นเรื่องการลงทุน ยิ่งไปกว่านั้นข้าราชการหลายๆคน ยังมีทัศนคติที่เป็นลบต่อ กบข. เพราะเขา หักเงินของข้าราชการในทุกๆเดือน และไม่ทราบว่าเงินที่ถูกหักไป เอาไปใช้ทำอะไร จะก่อเกิดผลประโยชน์ต่อตนเองอย่างไร ถ้าไม่ส่งเงินไปให้ กบข. จะได้ไหม

ในเรื่องของ กบข. นั้น แทบจะไม่แตกต่างกับกลุ่มกองทุนของบริษัทเอกชนที่เรียกว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ แถมมีแต้มต่อคือ รัฐบาลช่วยสมาชิกได้ออมเพิ่มอีก 3% อีกด้วย หากมองในมุมการลงทุนนั้น ถ้าท่านไม่ชอบความผาดโผน และเลือกออมเงินกับแผนการลงทุน แบบปกติ นั่นหมายถึงแค่เงินที่ กบข. หักจากเงินเดือนท่านและ เงินสมทบของภาครัฐ 3% หากท่านทำงาน ไปสัก 15 ปี ผลตอบแทนที่เรียกว่า “ดอกเบี้ยทบต้น” ก็จะผลิดอกออกผลอย่างมหาศาล หรือหากท่านมีความรู้ในเรื่องการลงทุน ลงในแผนความเสี่ยงกลางที่ กบข. จะนำไปลงทุนในตราสารทุนด้วย ท่านก็อาจจะได้รับผลตอบแทนที่ มากกว่าข้าราชการที่ลงแผนการลงทุนแบบธรรมดา ซึ่งเป็นปกติของการลงทุนที่เรียกว่า “High Risk High Expected Return”

ส่วนตัวในมุมมองของผมนั้น แค่ลงทุนในแผนการลงทุน แบบธรรมดา + ออมเงินในสหกรณ์ออมทรัพย์ครู ผลตอบแทนที่ท่านได้รับถือว่ามากกว่าประชาชนในสาขาอาชีพอื่นเป็นอย่างมากนะครับ โดยที่ไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของการลงทุนเอง

ติดตามเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ : https://www.youtube.com/@gpf1179

Posted by น้าหนวดไอที in การเงินการลงทุน, นานาสาระ
เงินคืออะไร? กับหนังสือ 4 เล่ม ที่สมาชิกควรอ่าน

เงินคืออะไร? กับหนังสือ 4 เล่ม ที่สมาชิกควรอ่าน

หนังสือ The Bitcoin Standard และ The Fiat Standard

จะเป็นเล่าถึงประวัติศาสตร์การเงินของโลกใบนี้ ผ่านมุมมองของเศรษฐศาสตร์สำนัก Classical หรือ Austrian ซึ่งใช้แนวคิดเสรีนิยมและการกระจายอำนาจ โดยจะชี้ให้เห็นความเป็นมาของจุดกำเนิดของเงิน จนมาถึงระบบเงินตรา (เงินที่ถูกตราด้วยรัฐ)

ความสนุกของหนังสือสองเล่มนี้หากอ่านต่อเนื่องกันเราจะได้เข้าใจความเป็นของคำว่า “เงิน” แท้จริงแล้วคืออะไร และทำไมรัฐบาลจึงพยายามที่จะควบคุมและแทรกแซงนโยบายทางการเงิน ทำไมอำนาจการจัดจับใช้สอยของเราจึงถูกลดทอนลงไปเรื่อยๆ เงินเฟ้อเพราะอะไร และการกำเนิดของ Bitcoin นั้นจะมาสู่การแก้ปัญหาของโลกใบนี้ ได้อย่างไร ทำไมจึงมีคนจำนวนหนึ่งศรัทธาใน Bitcoin และเรียกสินทรัพย์ชนิดนี้ว่า “ทองคำ Digital”

สำหรับหนังสือ The Bitcoin Standard ฉบับแปลไทยนั้นมีวางขายแล้ว The Fiat Standard นั้นต้องอดใจรอกันอีกสักนิดนะคะ

หนังสือ Layered Money พีระมิดเงินซ้อนชั้น

หากท่านได้อ่านหนังสือ สองเล่มด้านบนที่ได้กล่าวมา หนังสือเล่มนี้คือการขยายความของ “เงิน” ได้อย่าง ยอดเยี่ยม เพราะหนังสือเล่มนี้จะอธิบายคุณค่าของเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าสุดท้ายชีวิตเราที่ลำบากตรากตรำทำงาน เพื่อให้ได้ค่าตอบแทนที่เรียกว่าเงินนั้น โดยแท้จริงแล้วคืออะไร และเมื่อเราได้ค่าตอบแทนมาแล้ว เราควรเก็บไว้ที่ไหนถึงจะไม่เสื่อมค่า โดยจะอธิบายผ่านคุณลักษณะของสินทรัพย์ต่างๆ เช่น ทองคำ เงินสกุลดอลลาร์ Bitcoin และสิ่งกำลังจะเข้ามาแทนที่เงินตราของรัฐบาลทั่วโลก นั่นคือ CBDC หรือ Central Bank Digital Currency หรือเงินรัฐบาลดิจิทัล เช่นประเทศไทยที่กำลังเตรียมตัวคลอด “เงินบาทดิจิทัล” ชวนให้ตั้งคำถามว่าเราควรจะเข้าร่วมหรือต่อต้านระบบนี้ เพื่อแลกกับความสะดวกสบาย

หนังสือ Inventing Bitcoin

หนังสือเป็นหนังสือที่อ่านยากสักเล็กน้อย เนื่องจากผู้อ่านจำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องระบบคอมพิวเตอร์ (บ้าง) เพราะจะนำมาสู่พื้นฐานและหลักการทำงาน ของ Bitcoin ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร? ทำไมผู้ที่ศรัทธาในระบบ Bitcoin จึงเลือกที่เปลี่ยนเงินที่ตราโดยรัฐบาลและนำมาเก็บในรูปแบบ Bitcoin

โดยจะมีการอธิบายหลักการทำงานต่างๆของ Bitcoin เช่น ระบบ Proof of Work นั้นคืออะไร? ต่างจาก Proof of Stake อย่างไร? ทำไม Bitcoin จึงไม่สามารถถูกแทรกแซงจากรัฐบาลทำไม Bitcoin จึงถูก Hack ไม่ได้ อะไรคือความแข็งแกร่งของ Bitcoin ที่ทำให้อยู่รอดมาแล้ว 13 ปี และแท้จริงแล้ว Bitcoin เป็นเงินในอากาศ หรือเงินที่ถูกตราโดยรัฐบาลที่มีอำนาจในการขับเคลื่อนนโยบายการเงิน ที่สามารถพิมพ์เงิินออกมาและสร้างหนี้โดยไม่จำกัด โดยไม่มีสินทรัพย์ค้ำประกันพร้อมขยายเพดานหนี้ไปเรื่อยๆ นั้นคือ “เงินในอากาศ” กันแน่ เพราะเงินที่สร้างยาก จะคู่ควร แก่การเก็บออม สามารถก้าวข้ามผ่านกาลเวลา เพื่อส่งมอบมูลค่าให้แก่ลูกหลานในอนาคตได้

Posted by น้าหนวดไอที in การเงินการลงทุน, นานาสาระ